เคล็ด(ไม่)ลับการแก้ปัญหาบ้านทรุดตัว ทำให้เกิดรอยแตกร้าว 

เคล็ด(ไม่)ลับการแก้ปัญหาบ้านทรุดตัว ทำให้เกิดรอยแตกร้าว ปัญหาบ้านทรุดตัวเกิดจากอะไร? ปัญหานี้เกิดได้หลายสาเหตุ โดยปัจจัยหลัก ๆ มักมาจากเสาเข็มและการเคลื่อนตัวของพื้นดิน ขอเรียนว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะพบเห็นกรณีนี้มาอย่างต่อเนื่องยิ่งในช่วงฤดูฝน บ้านเรือนส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นมาโดยลงเสาเข็มไม่ลึก ก็จะเกิดปัญหาบ้านทรุดตัวลง เพราะการตอกเสาเข็มลงไปไม่ถึงชั้นดินที่แข็งแรงพอ ส่วนใหญ่มักเกิดจากกรณีที่ไม่เจาะสำรวดพื้นดิน หรือเกิดจากการการควบคุมการก่อสร้างเสาเข็มที่ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อปลายของเสาเข็มไม่ถึงชั้นดินที่แข็งแรง หลังจากการก่อสร้างบ้านเสร็จ หากเสาเข็มรับน้ำหนักไม่ได้ทำให้บ้านเกิดการทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาสั้น ๆ หลังก่อสร้างเสร็จ ถ้าทรุดไม่เท่ากัน … Read More

“ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” การทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้ในสัปดาห์ที่แล้วว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาขยายความและทำการพูดถึงข้อดีและข้อด้อยของการเลือกทำการทดสอบโครงสร้างเสาเข็มด้วยวิธีการใส่แรงกระแทกเข้าไปที่ส่วนบนของโครงสร้างเสาเข็ม ซึ่งโพสต์ๆ นี้ก็จะมีความต่อเนื่องมาจากโพสต์ของผมเมื่อในสัปดาห์ก่อนหน้านี้นะครับ สำหรับข้อดีหลักๆ ก็อย่างเช่น เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบโครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นมีขนาดค่อนข้างที่จะเล็กมากๆ ดังนั้นจึงทำให้บุคคลเพียงเดียวก็สามารถที่จะทำการทดสอบโครงสร้างเสาเข็มได้มากถึง 100 ต้นต่อวันเลยและสืบเนื่องจากเหตุผลข้อนี้เองจึงทำให้การทดสอบโครงสร้างเสาเข็มนั้นจะไม่เป็นการทำให้เกิดการกีดขวางการทำงานอื่นๆ … Read More

“ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” ตัวอย่างในการคำนวณหาค่าหน่วยแรงเค้นประสิทธิผลของชั้นดินที่มีความซับซ้อน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ ก่อนหน้านี้ผมเคยได้ทำการอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างในการคำนวณหาค่า หน่วยแรงเค้นประสิทธิผล หรือ EFFECTIVE STRESS หรือที่พวกเรานิยมเขียนด้วยตัวย่อว่า σ’ ให้กับเพื่อนๆ ในเพจของเราไปแล้ว ซึ่งถ้าผมจำไม่ผิดตัวอย่างในวันนั้นค่อนข้างจะเป็นตัวอย่างที่มีความตรงไปตรงมามาก … Read More

ค่าระยะเยื้องศูนย์มากที่สุด ที่จะไม่ทำให้ที่บริเวณขอบนอกสุดใต้ฐานรากแบบตื้น เกิดหน่วยแรงเค้นดึง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ วันนี้ผมจะมาขออนุญาตมาตอบคำถามให้แก่น้องวิศวกรที่เพิ่งจบใหม่ท่านหนึ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วน้องท่านนี้ก็อายุน้อยกว่าผมเพียงไม่กี่ปีแต่ผมยอมรับในตัวแกเลยเพราะแกใช้ความมานะอุตสาหะตั้งใจเรียนจนจบในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรีตอนอายุ 30 กว่าๆ ได้ ผมขอแสดงความยินดีกับแกด้วยก็แล้วกันและขออำนวยพรให้แกมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานสืบไปนะครับ ทีนี้สิ่งที่แกนำเอาปรึกษากับผมนั้นต้องย้อนกลับไปตอนที่แกกำลังเตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอยู่ ซึ่งแกเคยไปอ่านเจอคำถามข้อหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องการออกแบบฐานรากแบบตื้นหรือ SHALLOW … Read More

ภูมิปัญญาของช่างไทยในอดีตกับงานออกแบบและก่อสร้างระบบฐานรากของอาคาร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ เมื่อสัปดาห์ก่อนผมมีโอกาสได้ไปทำงานออกแบบโครงสร้างฐานรากรองรับเครื่องจักรในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎ ซึ่งผมได้จอดรถไว้ที่อาคารจอดรถของทางโรงพยาบาล พอเดินออกมาที่หน้าประตูด้านที่ติดกับถนนใหญ่ที่จะมุ่งหน้าไปที่ฝั่งอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิผมก็ไปเจอกับกลุ่มอาคารเก่าแก่อยู่หลายหลังซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลแห่งนี้ด้วย ซึ่งในระหว่างที่รอที่จะไปคุยงานผมก็ได้มีโอกาสเดินสำรวจดูสิว่า ลักษณะและรูปทรงต่างๆ ของอาคารหลังนี้นั้นเป็นอย่างไรและผมก็ได้พบว่า อาคารดังกล่าวนี้ยังคงความสวยงามตรงตามลักษณะต่างๆ ทางด้านงานสถาปัตยกรรมของอาคารที่มีการก่อสร้างขึ้นในสมัยโบราณ ทำให้เข้าใจได้เลยว่าเพราะเหตุใดทางโรงพยาบาลจึงเลือกที่จะทำการอนุรักษ์อาคารหลังนี้เอาไว้ให้คนรุ่นหลังๆ ได้มีโอกาสมารับชมกันน่ะครับ … Read More

การรับน้ำหนักโครงสร้าง มีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้มากหรือน้อยเพียงใด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ หากว่าเพื่อนๆ มีความสงสัยว่า หากเรามีความต้องการที่จะทำโครงสร้างที่จะถูกวางตัวลงไปบนดินโดยตรง หรือ GRADED STRUCTURE เราจะมีวิธีอย่างไรในการที่จะทราบได้ว่า ดินข้างใต้ที่จะทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักโครงสร้างนั้นๆ จะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้มากหรือน้อยเพียงใด วันนี้ผมมีคำแนะนำขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องๆ … Read More