“ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” การจำแนกประเภทว่าโครงสร้างเสานั้นเป็นโครงสร้างเสาสั้นหรือโครงสร้างเสายาว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ
ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ ไว้ว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาขยายความเกี่ยวกับเรื่องค่าต่างๆ และวิธีในการจำแนกว่าโครงสร้างเสา คสล ของเรานั้นมีลักษณะเป็น โครงสร้างเสาที่มีความสั้น หรือ โครงสร้างเสาที่มีความชะลูด ด้วยวิธีหน่วยแรงใช้งานให้กับเพื่อนๆ ได้รับทราบกันต่อจากในโพสต์ที่แล้วนะครับ

ซึ่งก็จะเป็นไปตามที่ผมได้ทำการอธิบายถึงในการโพสต์ครั้งก่อนหน้านี้ว่า เวลาที่เราทำการพิจารณาทำการออกแบบหน้าตัดของโครงสร้างเสา คสล เราจะต้องทำการพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะต่างๆ ของตัวเสาเองด้วย อาทิ รูปแบบของแรงที่เป็นตัวควบคุมการออกแบบ เช่น เมื่อแรงอัดเป็นตัวควบคุมการออกแบบ หรือ COMPRESSION CONTROL หรือ เมื่อแรงดึงเป็นตัวควบคุมการออกแบบ หรือ TENSION CONTROL เป็นต้น ทั้งนี้รูปแบบของการเซของตัวโครงสร้างเสา คสล ก็เช่นเดียวกัน เช่น เป็นโครงสร้างเสาที่อยู่ในระบบโครงสร้างที่ไม่มีการเซ หรือ NON‒SWAY FRAME หรือ เป็นโครงสร้างเสาที่อยู่ในระบบโครงสร้างที่มีการเซ หรือ SWAY FRAME เป็นต้น แม้กระทั่งรูปแบบของการโก่งตัวของโครงสร้างเสา คสล เช่น มีการโก่งตัวแบบทางเดียวหรือ SINGLE CURVATURE หรือ มีการโก่งตัวแบบสองทางหรือ DOUBLE CURVATURE เป็นต้น ดังนั้นหากเรามีความต้องการที่จะจำแนกออกมาให้ได้ว่า โครงสร้างเสาของเรานั้นจะมีลักษณะเป็นโครงสร้างเสาที่มีความชะลูดตามมาตรฐานการออกแบบของวิธีหน่วยแรงใช้งานใช่หรือไม่?

เราก็จะต้องทำการพิจารณาจากค่า Lu/r และค่า k×Lu/r โดยที่ค่า Lu ก็คือ ระยะความยาวของโครงสร้างเสาที่ไม่มีการค้ำยันทางด้านข้าง ค่า r ก็คือ ระยะรัศมีไจเรชั่นน้อยที่สุดของโครงสร้างเสา และค่า k ก็คือ ค่าตัวคูณประกอบความยาวประสิทธิผล ร่วมกันกับกรณีเฉพาะต่างๆ ของโครงสร้างเสาที่ผมได้ทำการเอ่ยถึงไปแล้วข้างต้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะได้นำเอาค่าและข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ในการคำนวณหา ค่าตัวคูณลดกำลังใช้งานของโครงสร้างเสา หรือ WORKING STRENGTH REDUCTION FACTOR หรือที่พวกเรานิยมทำการเขียนออกมาสั้นๆ ด้วยตัวย่อว่าค่า R หลังจากนั้นเราก็จะนำเอาค่าๆ นี้ไปหารกันกับค่ากำลังรับแรงอัดตามแนวแกนใช้งานและค่ากำลังรับแรงดัดใช้งานของโครงสร้างเสาที่เราทำการคำนวณหามาโดยการวิเคราะห์โครงสร้าง เพื่อสุดท้ายแล้วเราก็จะได้ค่ากำลังรับแรงอัดออกแบบและค่ากำลังรับแรงดัดออกแบบของโครงสร้างเสาออกมานั่นเองครับ

ทั้งนี้ผมต้องขอให้เพื่อนๆ นั้นทำการพิจารณารูปที่ผมได้นำเอามาใช้ในการโพสต์ในครั้งนี้ไปพร้อมๆ กันด้วย โดยที่จะมีรายละเอียดและวิธีการในการพิจารณาแบ่งออกตามกรณีหลักๆ ดังต่อไปนี้นะครับ
กรณี A
กรณีที่โครงสร้างเสาของเรานั้นรับเฉพาะเพียงแค่ค่าแรงอัดกระทำตามแนวแกนเพียงแรงเดียว ดังนั้นสำหรับกรณีๆ นี้ก็คือค่า Ecc นั้นจะมีค่าที่น้อยกว่าค่า Ecc,a ซึ่งค่าตัวคูณลดกำลังใช้งานของโครงสร้างเสานั้นจะสามารถทำการคำนวณออกมาได้จากสมการดังต่อไปนี้
R = 1.07 – 0.008×Lu/r ≤ 1.00 EQ.(1)

กรณี B
กรณีที่โครงสร้างเสาของเรานั้นจะต้องรับทั้งค่าแรงอัดกระทำตามแนวแกนและค่าแรงดัดพร้อมๆ กันด้วย ดังนั้นสำหรับกรณีๆ นี้ก็คือค่า Ecc นั้นจะถูกแบ่งออกเป็นกรณีย่อยๆ ดังต่อไปนี้
กรณี B1.0
กรณีที่การออกแบบนั้นมีแรงอัดเป็นตัวควบคุมการออกแบบ ดังนั้นสำหรับกรณีๆ นี้ก็คือค่า Ecc นั้นจะมีค่าที่มากกว่าค่า Ecc,a แต่ก็จะน้อยกว่าค่า Ecc,b ซึ่งก็จะถูกแบ่งออกเป็นกรณีย่อยๆ ดังต่อไปนี้
กรณี B1.1
กรณีที่โครงสร้างเสาที่อยู่ในระบบโครงสร้างที่ไม่มีการเซหรือพูดง่ายๆ ก็คือที่บริเวณปลายของโครงสร้างเสานั้นไม่มีการเคลื่อนที่เกิดขึ้นเลย ดังนั้นค่า k จึงมีค่าเท่ากับ 1.00 ซึ่งก็จะถูกแบ่งออกเป็นกรณีย่อยๆ ดังต่อไปนี้
กรณี B1.1A

กรณีที่โครงสร้างเสานั้นมีการโก่งตัวแบบสองทาง ซึ่งก็จะถูกแบ่งออกเป็นกรณีย่อยๆ ดังต่อไปนี้
– หากว่าค่า Lu/r นั้นมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 60 แต่ยังมีค่าที่น้อยกว่า 100 หากเป็นเช่นนี้ก็ให้ทำการคำนวณหาค่า R ได้จากสมการดังต่อไปนี้
R = 1.32 – 0.006×Lu/r ≤ 1.00 EQ.(2)
– หากว่าค่า Lu/r นั้นมีค่าที่มากกว่า 100 ก็ให้ทำการวิเคราะห์โครงสร้างโดยการคำนึงถึงผลของการเกิดการโก่งตัวที่มีต่อค่าแรงดัดที่เกิดขึ้นในเสาด้วย
กรณี B1.1B

กรณีที่โครงสร้างเสานั้นมีการโก่งตัวแบบทางเดียวก็ให้ทำการคำนวณหาค่า R ได้จากสมการดังต่อไปนี้
R = 1.07 – 0.008×Lu/r ≤ 1.00 EQ.(3)
กรณี B1.2

กรณีที่โครงสร้างเสาที่อยู่ในระบบโครงสร้างที่มีการเซหรือพูดง่ายๆ ก็คือที่บริเวณปลายของโครงสร้างเสานั้นจะเกิดการเคลื่อนที่ขึ้น ดังนั้นค่า k จึงย่อมจะมีค่ามากกว่า 1.00 หากเป็นเช่นนี้ก็ให้ทำการคำนวณหาค่า R ได้จากสมการดังต่อไปนี้
R = 1.07 – 0.008×k×Lu/r ≤ 1.00 EQ.(4)

หากเราพบว่าบริเวณปลายของโครงสร้างเสานั้นจะเกิดการเคลื่อนที่ขึ้นเนื่องจากแรงกระทำที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เช่น แรงกระทำจากแรงลม แรงกระทำจากการสั่นสะเทือนอันเนื่องมาจากคลื่นแผ่นดินไหว เป็นต้น ดังนั้นเราจะสามารถปรับให้ค่า R ใน EQ.(4) นั้นเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ได้ หรืออาจจะเขียนอยู่ในรูปของสมการได้ว่า
R = 1.18 – 0.009×k×Lu/r ≤ 1.00 EQ.(5)
กรณี B2.0

กรณีที่การออกแบบนั้นมีแรงดึงเป็นตัวควบคุมการออกแบบ ดังนั้นสำหรับกรณีๆ นี้ก็คือค่า Ecc นั้นก็จะออกมามีค่าที่มากกว่าค่า Ecc,b เสมอ ดังนั้นหากเป็นเช่นนี้เราจะเปลี่ยนมาใช้เป็นค่า R’ แทน โดยให้เราทำการคำนวณหาค่า R ออกมาก่อน ซึ่งจะได้จากการพิจารณารายละเอียดตามที่ได้ระบุเอาไว้ในข้อ B1.1 และ B1.2 สุดท้ายเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่า R’ ออกมาได้จากสมการดังต่อไปนี้
R’ = 1 – ( 1 – R ) × Ecc,b / Ecc ≥ R EQ.(6)

เอาไว้ในครั้งหน้าที่เราจะกลับมาพบกัน ผมจะขออนุญาตมาขยายความเกี่ยวกับเรื่องค่าต่างๆ และวิธีในการที่จะถูกนำเอามาใช้ในการจำแนกว่าโครงสร้างเสา คสล ของเรานั้นมีลักษณะเป็น โครงสร้างเสาที่มีความสั้น หรือ โครงสร้างเสาที่มีความชะลูด โดยวิธีกำลังให้กับเพื่อนๆ ได้รับทราบกันบ้าง หากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจจะมีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมได้ในการโพสต์ครั้งต่อไปนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันศุกร์
#ฝากคำถามแล้วเราจะมาตอบให้
#การจำแนกประเภทว่าโครงสร้างเสานั้นเป็นโครงสร้างเสาสั้นหรือโครงสร้างเสายาว
#ครั้งที่2
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam