สาเหตุของการที่ค่าตัวคูณลดกำลัง สำหรับกรณีของการที่ชิ้นส่วนต้องทำหน้าที่ในการรับแรงดัดในมาตรฐานการออกแบบสมัยใหม่และในอดีตนั้นมีค่าแตกต่างกัน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ
เมื่อหลายวันก่อนผมได้มีโอกาสสนทนากับท่านอาจารย์ที่ผมเคารพมากท่านหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องการออกแบบ SLENDER COLUMN โดยที่เนื้อหาที่คุยกันนั้นผมได้เล่าให้ท่านอาจารย์ฟังถึงกรณีของขนาดของโครงสร้างเสาภายในอาคาร 3 ชั้นที่เกิดเพลิงไหม้และในที่สุดก็เกิดการถล่มลงมาเมื่อหลายวันก่อนนั้นมีขนาดที่ค่อนข้างจะเล็กมากๆ อย่าว่าแต่ LATERAL LOAD CASE เลย เฉพาะแค่ GRAVITY LOAD CASE ยังไม่น่าจะเอาอยู่ด้วยซ้ำไปครับ

ซึ่งในรูปที่ผมได้นำเอามายกตัวอย่างในโพสต์ๆ นี้เป็นรูปของโครงสร้าง SLENDER COLUMN ที่ผมเคยได้ทำการออกแบบเอาไว้ในอาคารสนามกีฬาแห่งใหม่ของ มจธ วิทยาเขตบางขุนเทียน ซึ่งพอผมทำการออกแบบเสร็จก็พบว่าค่า MAGNIFICATION FACTOR ที่คำนวณออกมาได้สำหรับกรณีของเสาต้นนี้จะมีค่าเกือบๆ แตะเลข 2 เลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็แสดงว่าหากเราทำการออกแบบเสาต้นนี้โดยใช้ CONCEPT ของ STOCKY COLUMN พูดง่ายๆ คือ ไม่ได้ทำการคำนึงถึงผลของความชะลูดของเสาเลย นั่นจะทำให้โครงสร้างของเรานั้นมีความอ่อนแอมากกว่าที่ควรจะเป็นมากถึงประมาณ 2 เท่าเลยทีเดียวครับ

พอผมมานั่งรื้อรายการคำนวณเก่าๆ ดูเลยขอนำเอาส่วนหนึ่งของรายการคำนวณที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องการพิจารณา SECOND ORDER EFFECT ในโครงสร้างเสาเอามาฝากให้แก่เพื่อนๆ และน้องๆ วิศวกรโครงสร้างได้รับชมกันเพราะผมเข้าใจดีครับว่าการคำนวณหาค่า MAGINIFICATION FACTOR ในกรณีที่เสานั้นเป็น SLENDER COLUMN ค่อนข้างที่จะมีความยุ่งยากเอาเรื่องอยู่แต่เชื่อผมเถอะ คุณยอมเสียเวลาในการคำนวณตรงส่วนนี้ให้ดีๆ เพื่อที่เราจะได้สามารถทำการคำนวณออกแบบให้เสาของอาคารของเรานั้นมีเสถียรภาพที่ดีและมีความแข็งแรงเพียงพอต่อการรับน้ำหนักบรรทุกกรณีต่างๆ ดีกว่าปล่อยปละละเลยจนในที่สุดทำให้โครงสร้างอาคารของคุณนั้นมีปัญหาในเรื่องต่างๆ ในภายหลังนะครับ

ในรูปโครงสร้างเสาในโครงการๆ นี้ผมใช้โปรแกรม ACECOMS GEER ในการคำนวณหาค่า MAGINIFICATION FACTOR ซึ่งโปรแกรมนี้ได้อ้างอิงวิธีการคำนวณไปที่ CODE ของ ACI318-95 ซึ่งผมเข้าใจดีว่า CODE ดังกล่าวนี้ค่อนข้างที่จะเก่ามากหากเปรียบเทียบกันกับ CODE ในปัจจุบัน เอาเป็นว่าหากมีเพื่อนๆ ท่านใดที่สนใจที่จะนำเอาโปรแกรมๆ นี้ไปใช้ในการช่วยในเรื่องของการคำนวณค่า MAGINIFICATION FACTOR ก็ไม่ว่ากันนะ ตามสบายเลย ผมไม่สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใดครับ

ทั้งนี้หากดูในหน้ารายการคำนวณนี้จะเห็นได้ว่าผมใช้ค่าในการออกแบบ รวมถึงพารามิเตอร์หลายๆ ตัวในการออกแบบที่ดูแล้วค่อนข้างที่จะมีความ CONSERVATIVE เช่น ค่า K FACTOR ซึ่งลักษณะของจุดรองรับตามทฤษฎีนั้นจะมีค่าประมาณ 0.50 ถึง 0.75 แต่ผมใช้ค่าๆ นี้เท่ากับ 1.00 นั่นเป็นเพราะผมมีมุมมองของนักออกแบบว่า สภาพของโครงสร้างจริงๆ นั้นอาจจะไม่ได้รับการก่อสร้างให้มีคุณลักษณะต่างๆ ตรงตามทฤษฎี 100% ผมจึงตัดสินใจทำการปรับเพิ่มค่า K FACTOR ให้สูงกว่าค่าตามทฤษฎีเล็กน้อย ซึ่งนั่นก็จะเป็นการ ENSURE ได้ว่าหากลักษณะของโครงสร้างจริงนั้นเป็นเช่นที่ผมได้คาดหมายเอาไว้ อย่างน้อยโครงสร้างเสาต้นนี้ก็จะยังคงไว้ซึ่งความมีเสถียรภาพที่ดีเพียงพอ เป็นต้น อีกทั้งผมยังได้ทำการตั้งค่าการพิมพ์เอาไว้เฉพาะเพียงแค่ข้อมูลพื้นฐานเพียงเท่านั้น ดังนั้นหากโอกาสหน้าผมสะดวก ผมจะขออนุญาตนำเอารายการคำนวณซึ่งแสดงวิธีการคำนวณโดยละเอียดเอามาฝากให้เพื่อนๆ และน้องๆ ได้รับชมเป็นวิทยาทานนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#การออกแบบเสายาว
#ครั้งที่1
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam